Facebook
Twitter
LINE

เชื่อว่าทุกคนเคยเจอปัญหา “พัสดุหาย”

ส่งไปแล้วผู้รับไม่ได้ของ หรือรอของจากคนส่งแล้วมันมาไม่ถึง

ซึ่ง Amazon เว็บไซต์ขายของออนไลน์อันดับหนึ่งของโลก ก็หลีกเลี่ยงปัญหานี้ไม่ได้เช่นกัน

เพราะตราบใดที่ยังใช้ “คน” ทำงาน

โอกาสเจอคนไม่สุจริตก็ยังคงมีอยู่

แล้วพวกเขาจะแก้ปัญหานี้อย่างไร??

 

ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ส่งของ 5,000 ล้านชิ้น ไปยังลูกค้าทั่วโลก

หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยวันละมากถึง 13 ล้านชิ้น

พวกเขาจึงต้องให้ความสำคัญกับโกดังสินค้ามากเป็นพิเศษ

มีการติดกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย รวมถึงตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานในโกดังทุกคน

นั่นจึงทำให้สามารถจับได้ง่ายว่าใครทำผิดในโกดังสินค้า

แต่ถ้ามีคนทำผิดขึ้นมาล่ะ??

 

พวกเขาก็มีนโยบาย “ประจานคนทำผิด” ด้วยเช่นกัน..

ในจุดที่พนักงานใช้สำหรับลงเวลาเข้างาน บริษัทจะติดตั้งจอทีวีเอาไว้

ซึ่งระหว่างที่พนักงานมาต่อคิวลงเวลาเข้างาน ก็จะมีการฉายภาพที่เคยบันทึกในกล้องวงจรปิด ซึ่งจับพนักงานที่ถูกไล่ออกเพราะขโมยของเอาไว้ด้วย

พร้อมกับระบุรายละเอียดว่าขโมยเมื่อไร ขโมยอะไร มีมูลค่าสูงแค่ไหน พวกเขายอมรับสารภาพไหม

รวมถึงทิ้งท้ายว่าหัวขโมยเหล่านั้นโดนไล่ออก

แม้บางคนจะตั้งคำถามว่าเป็นการละเมิดสิทธิอดีตพนักงานเหล่านั้นหรือไม่

แต่บริษัทก็คิดว่านโยบายดังกล่าว ช่วยให้พนักงานคนอื่นเกิดความเกรงกลัว และไม่กล้าทำตาม

 

 

แต่ปัญหาอีกอย่าง… ถ้าของออกจากโกดัง ขึ้นรถส่งของไปแล้ว

ระหว่างทางเกิดการขโมยขึ้นมา โดยอาจจะแกล้งตีมึนว่าของหล่นหาย แบบนี้จะติดตามมันได้ยังไง??

 

อดีตพนักงานคนหนึ่งเปิดเผยข้อมูลว่า หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ นอกจากกล้องวงจรปิดแล้วก็คือ..

การคิดค้นระบบ “กล่องพัสดุปลอม” ขึ้นมา

โดยพัสดุเหล่านั้นจะถูกนำเข้าไปรวมกับกล่องสินค้าอื่นๆ

แต่ที่ต่างไปก็คือ มันเป็นกล่องที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบ

และมันก็คือ “กับดัก” สำหรับพนักงานขับรถส่งของ

ถ้าพนักงานขับรถสแกนกล่องเหล่านั้นตอนนำส่ง ก็จะขึ้นข้อความ Error แจ้งว่ามันไม่มีในระบบ

ทีนี้เขาก็มี 3 ตัวเลือก ระหว่าง

1. ติดต่อหัวหน้าแจ้งข้อผิดพลาดในตอนนั้นเลย

2. นำกลับไปยังโกดังสินค้าตอนสิ้นวัน แล้วตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้น

หรือ

3. เก็บกล่องนั้นเอาไว้เอง เพราะยังไงก็ไม่มีใครรู้ว่ามันมีอยู่ในระบบ

 

ถ้าเขาเลือกข้อ 1 กับ 2 นั่นหมายความว่าเขาคือคนที่ตั้งใจทำงานโดยสุจริต

แต่ถ้าเขาเลือกข้อ 3 เขาก็จะต้องถูกสอบสวนแล้วว่าทำไมไม่มีกล่องนั้นมาคืน

ถ้าพบว่ามีความผิดจริง โทษหนักก็อาจจะเป็นการให้ออกจากงาน

เพราะบริษัทจะถือว่าเขาเป็น “ขโมย” ที่มีโอกาสจะฉกฉวยหยิบของลูกค้าคนอื่นๆ ในอนาคตอีก

 

Amazon จัดส่งสินค้าด้วยตนเองผ่านระบบ Prime

 

ทำไมพัสดุหายจึงเป็นเรื่องใหญ่??

ข้อมูลจาก National Retail Federation ระบุว่า การที่พัสดุหาย ถูกขโมย หรือชำรุดนั้น มีผลกระทบต่อธุรกิจซื้อขายออนไลน์ของประเทศ

ทำให้บริษัทต้องมารับผิดชอบส่วนที่เสียหายไป เพราะพวกเขาต่างก็ต้องชดเชยให้ลูกค้า

ในปีล่าสุด ความเสียหายตรงนี้คิดเป็นการสูญเสียรายได้มากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

นั่นหมายถึงโอกาสที่บริษัทต่างๆ จะมีกำไรลดลง

ยกตัวอย่างเช่น Amazon นั้นทำกำไรได้ประมาณ 1.5% ของรายได้

หากสูญเสียรายได้ไป 1.5 ล้านล้านบาท ก็จะเสียกำไร 22,500 ล้านบาท

และหมายถึงภาษีที่เข้ารัฐบาล ซึ่งถ้าคำนวณด้วยอัตราภาษีบริษัท 21% แล้ว

ภาษีที่เข้ารัฐ ก็อาจจะลดลงตามไปด้วยกว่า 4,700 ล้านบาทเลยทีเดียว!!

 

ทางออกในอนาคตด้วย AI

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีมาตรการออกมารัดกุมเพียงใด แต่ก็ยังเจอการทุจริตได้อยู่ดี

Amazon พยายามนำการใช้หุ่นยนต์ในโกดังสินค้าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ในปี 2016 บริษัทใช้หุ่นยนต์กว่า 30,000 ตัวจัดการสินค้า ขณะที่มีพนักงานเป็นมนุษย์ราว 230,000 คน

ในปี 2017 การใช้งานหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นเป็น 45,000 ตัว นั่นหมายถึงอัตราเติบโตกว่า 50%

และข้อมูลล่าสุดพบว่า Amazon ใช้งานหุ่นยนต์ 100,000 ตัว จัดการสินค้าในคลังสินค้าทั่วโลก

 

ตัวอย่างการใช้งานระบบหุ่นยนต์ในโกดัง Amazon และ Alibaba

 

หุ่นยนต์นั้นสามารถคำนวณวิธีการจัดเรียงสินค้าได้ดีกว่า

สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่าแรงมนุษย์

และสามารถทำงานได้ตลอดเวลาไม่ต้องหยุดพัก

แม้จะมีต้นทุนการลงทุนที่สูง แต่ในระยะยาวนั้นจะช่วยให้บริษัทประหยัดได้มากขึ้น

 

แต่… ก็ยังมีการถกเถียงถึงเรื่องใช้ AI เข้ามาทำงานแทนคนงาน เป็นการตัดโอกาสได้งานของคนในท้องถิ่นด้วยหรือไม่??

แต่เราก็อาจจะหลีกเลี่ยงการเข้ามาของหุ่นยนต์ในอนาคตไม่พ้น

เพราะโลกของเรากำลังหมุนไปในทิศทางนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามันจะมาถึงจะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง….

 

 

ติดตาม Billionaire Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionairethai/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/BillionaireThai

– ถ้าเล่นแต่ไลน์ ก็ส่งบทความให้คุณทุกวันที่ @BillionaireMindset

– ติดตามเพจ Billionaire Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

 

ที่มา:

en.wikipedia.org/wiki/Amazon_(company)

uk.businessinsider.com/amazons-robot-army-has-grown-by-50-2017-1

nrf.com/system/tdf/Documents/retail%20library/NRF-NRSS-Industry-Research-Survey-2018.pdf?file=1&title=National%20retail%20security%20survey%202018

www.businessinsider.com/amazon-sets-traps-for-drivers-2018-9

www.nytimes.com/2017/09/10/technology/amazon-robots-workers.html

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...